
เงินเดือนเฉลี่ย นักวิทยาศาสตร์ VS วิศวกร จบใหม่ที่ ม.เกษตร (ปี 58)
วิทยาศาสตร์ หรือ วิศวกร สาขาไหนรุ่ง มาลองวิเคราะห์ดูกัน
วันนี้เราจะมาดูกันครับว่าว่าที่นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรจบใหม่จาก ม.เกษตรศาสตร์ ในปัจจุบันนั้นคณะไหนรุ่ง สาขาไหนรุ่ง โดยเราจะใช้ตัวชี้วัดจากฐานเงินเดือนเฉลี่ยที่ได้จากการสำรวจครับ
ก่อนอื่นจะเห็นได้ว่าในภาพรวมวิศวกรนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าเพราะโดยรวมทุกสาขาวิชาแล้วนั้นค่าเฉลี่ยอยู่สูงกว่าสายวิทยาศาสตร์มากเลยทีเดียว นั่นก็เป็นเพราะว่านักวิทยาศาสตร์ปริญญาตรีนั้นยังไม่เป็นนักวิทยาศาสตร์โดยสมบูรณ์ดังเช่นประเทศชั้นนำ เช่น อเมริกา หรือ ญี่ปุ่น เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์ในสองประเทศนี้จะต้องเรียนจนจบปริญญาเอกถึงจะกลายเป็นนักวิจัยเต็มตัว อย่างไรก็ตามทั้ง อเมริกา และญี่ปุ่น มีการจ้างงาน และอุตสาหกรรมที่รองรับอาชีพเหล่านี้ไว้พร้อม เพราะมีบริษัทที่ทำการวิจัยและพัฒนานั้นมีอยู่จำนวนมาก ประกอบกับเงินลงทุนในการค้นคว้าวิจัยนั้นมีอย่างมหาศาล แต่ถ้าเราลองมองกลับมาในประเทศไทย จะเห็นได้ว่าประเทศของเราแทบจะไม่มีสิ้นค้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นแบรนด์คนไทยและส่งขายไปมากมายทั่วโลกเลย ดังนั้นความต้องการในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆที่ทันสมัย ตอบนองความต้องการของโลก ก็ไม่มีอยู่เลย ซึ่งเป็นเหตุให้ความต้องการจ้างงานของนักวิทยาศาสตร์ก็จำเป็นต้องน้อยตามลงไปด้วย
ในทางกลับกันสำหรับวิศวกรนั้นมักจะถูกฝึกทักษะให้เป็นนักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ต้องรู้ทฤษฎีมากมาย อาศัยความชำนาญ และความเคยชินจนกลายเป็นสัญชาตญาณ ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ผลงานออกมามีประสิทธิภาพสูงสุด เรียกง่ายๆว่าช่างฝีอมือนั่นเอง แน่นอนว่าประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีฐานการผลิตสินค้าเทคโนโลยีของบริษัทต่างชาติขน่าดใหญ่ที่สุดของ AEC ดังนั้นความต้องการช่างฝีมืออย่างวิศวกรจะยังคงอยู่ต่อไป
มาถึงตอนนี้เราลองมาเจาะลึกแต่ละสาขาวิชาของทั้งสองคณะกันครับ ว่าสาขาไหนรุ่ง และนั่นมีสาเหตุมาจากอะไร
สำหรับสายวิทยาศาสตร์จะเห็นได้ว่าสาขาที่เงินเดือนดูสูงกว่าเพื่อนสองอันดับแรกนั้นคือเคมี และคอมพิวเตอร์
สำหรับสาขาคอมพิวเตอร์ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า ณ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมซอฟแวร์เกิดขึ้นมากมายในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น application บนมือถือ แทบเลต หรือจะเป็นการตลาดบนอินเทอร์เนต ระบบห้างร้านต่างๆ เวบไซด์ขายของต่างๆ ทำให้ความต้องการจ้างโปรแกรมเมอร์นั้นเพิ่มสูงมากขึ้น
สำหรับสาขาเคมีนั้นเรียกได้ว่าไม่กี่ปีมานี้ได้ผ่านยุคที่รุ่งเรือง เติบโตไปพร้อมๆกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทย ความต้องการจ้างงานจึงสูงมาก กำไรของผู้ว่าจ้างก็สูง ทำให้เงินเดือนนั้นขยับขึ้นสูงตามไปด้วย โดยเฉพาะในบริษัทสำรวจและผลิตน้ำมัน บริษัทผลิตโพลิเมอร์ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น
สำหรับวิศวกรรมศาสตร์มี 4 สาขา ที่เงินเดือนสูงกว่าสาขาอื่นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่ง 2 ใน 4 ก็คือ เคมี และคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับสาขาวิทยาศาสตร์นั่นเอง ส่วนสาขาเครื่องกลนั่นก็เป็นเพราะว่าประเทศไทยยังคงเป็นกำลังสำคัญในการผลิตรถยนต์ให้บริษัทญี่ปุ่น ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆของโลก อย่างเช่น TOYOTA ความต้องการวิศวกรเครื่องกลก็ยังคงมีอยู่มาก ส่วนวิศวกรอุตสาหการนั้นเป็นไปได้ว่ารายได้ก็เติบโตไปเรื่อยๆตามขนาดอุตสาหกรรมของประเทศ เพราะไม่ว่าจะอุตสาหกรรมไหนก็ต้องการวิศวกรโรงงาน ไปทำหน้าที่บริหารจัดการ ภาคส่วนต่างๆ และผสานงานกับวิศวกรสาขาอื่นๆ
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีแนวโน้มที่สถานการณ์โลกจะเปลี่ยนไป กำลังการผลิตรถยนต์ที่ลดลง ราคาน้ำมันที่ต่ำลงและทำกำไรได้ลดลงอย่างมาก ภาคการส่งออกที่หดตัวเหลือเกิน เมื่อการค้าขายไม่ดีก็นำมาสู่การจับจ่ายใช้สอยที่ไม่ค่อยคล่อง แล้วสิ่งที่สิ้นเปลืองอย่างเทคโนโลยีต่างๆก็อาจจะถูกลดความต้องการลงไปอย่างรวดเร็ว จะเห็นได้ว่าทุกสาขาล้วนมีทั้งขาขึ้นขาลง หน้าที่ของเราคือวิเคราะห์อนาคตว่าเราควรไปอยู่อุตสาหกรรม หรือสาขาจำพวกไหน ที่จะทำให้เราได้รายได้ใช้จ่ายอย่างเพียงพอ
แต่ต้องอย่าลืมไปว่าทำให้ดีที่สุดในจุดที่ยืน ถ้าเก่งระดับต้นๆของประเทศในแต่ละสาขา ค่าเฉลี่ยเหล่านี้ก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป เพราะเงินเดือนจะสูงมากกว่าคนทั่วไปมากๆเลยทีเดียว
ที่มาข้อมูลตัวเลข http://www.unigang.com/Article/26029
ที่มารูปภาพต้นฉบับ https://www.mindbreeze.com/de/node/5057
http://nissanunj.blogspot.jp/2013/09/doctor-or-engineeringthe-popular-career.html